สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 10 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการอยู่เสมอมา โดยในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารและการบริการขึ้นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ชุมชนในภาคใต้ ต่อมาจึงได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและสถานประกอบการซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติขึ้นเป็น“หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ” เพื่อผลิตบัณฑิตอันพึงประสงค์ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กร ชุมชน และประเทศต่อไป
|
ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้ทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบันโดยมีรายละเอียดของหลักสูตรทั้งหมด ดังนี้
1. ชื่อหลักสูตร
|
ภาษาไทย:
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
|
|
ภาษาอังกฤษ:
|
Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service
|
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
|
ภาษาไทยชื่อเต็ม :
|
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
|
|
ชื่อย่อ :
|
วท.บ.(เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
|
|
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม :
|
Bachelor of Science (Culinary Technology and Service)
|
|
ชื่อย่อ :
|
B.Sc. (Culinary Technology and Service)
|
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
4. รูปแบบของหลักสูตร
|
4.1
|
รูปแบบ:
|
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
|
|
4.2
|
ภาษาที่ใช้:
|
ภาษาไทย
|
|
4.3
|
การรับเข้าศึกษา:
|
รับเฉพาะนักศึกษาไทย
|
5. ปรัชญาของหลักสูตร
|
ผลิตบัณฑิตที่มี ความรู้ ความสามารถในการประกอบอาหารและการบริการ โดยนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาประยุกต์ใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ มีบุคลิกภาพที่ดี รวมถึงตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้ได้อาหารและการบริการที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย ตามมาตรฐานในระดับประเทศและระดับสากล
|
6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
6.1
|
มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการประกอบอาหาร การพัฒนารายการอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารไปประยุกต์ใช้ และการบริการได้เป็นไปตามมาตรฐานถูกต้องตามหลักสากล
|
|
6.2
|
มีความรู้ความสามารถในการบริการ และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม |
|
6.3
|
มีความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดการ และประกอบธุรกิจอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
|
|
6.4
|
ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสาร การใช้สารสนเทศ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัย และให้บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
|
|
6.5
|
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพทางการประกอบอาหารและการบริการ |
7. ความสำคัญของหลักสูตร
|
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบันได้ส่งผลต่อรูปแบบของอาหารและการบริการ ดังนั้นผู้ประกอบการอาหารและพนักงานบริการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในวิชาชีพ สาขาวิชานี้จึงเป็นศาสตร์ของเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการที่ บูรณาการร่วมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพด้าน การผลิตและการบริการอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย สำหรับการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทำให้มีความจำเป็นในการเร่งผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการที่เน้นทักษะการประกอบอาหาร มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีบุคลิกภาพที่ดี และมีความสามารถในการบริการอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับ ประเทศและระดับสากล
|
8. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
8.1
|
เป็นหลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2554 |
|
8.2
|
เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2555 เป็นต้นไป |
|
8.3
|
คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรพิจารณาหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 34(47)/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2554 |
|
8.4 |
คณะกรรมการสภาวิชาการพิจารณาหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 9(17)/2554 วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2554 และครั้งที่ 4(4)/2555 วันที่ 19 มิถุนายน 2555 |
|
8.5 |
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่14(41)/2555วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2554 และครั้งที่2(2)/2555 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 |
9. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
|
หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ปี พ.ศ. 2557
|
10. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาดังนี้
|
10.1
|
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการผลิตและบริการอาหาร ในอุตสาหกรรมบริการอาหาร* |
|
10.2
|
นักพัฒนาตำรับและรายการอาหาร ในอุตสาหกรรมบริการอาหาร* |
|
10.3
|
นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร** |
|
10.4
|
ผู้ประกอบการ |
|
10.5
|
อาจารย์ / นักวิชาการ |
|
10.6
|
นักเขียน / นักวิจารณ์ |
|
10.7
|
นักจัดและตกแต่งอาหารเพื่อการโฆษณา |
|
10.8
|
ผู้แทนจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร* และโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร** |
|
10.9
|
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร* และโรงงาน |
|
|
|
|
|
หมายเหตุ
* อุตสาหกรรมบริการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม และครัวสายการบิน ** โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หมายถึง โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร
|