2,744 views
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยว ตามรอยพระยารัษฎานุประดิษฐ์
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ปี พ.ศ. 2557
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดตรัง ตามรอยประวัติศาสตร์ของพระยารัษฎาฯ ผู้นาความเจริญมาสู่จังหวัดตรัง รวมถึงสิ่งที่น่าสนใจด้านอื่น ๆ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าสนใจตามหมวดหมู่ต่าง ๆ จากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตรัง ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป ตัวแทนอาจารย์และนักวิชาการในสาขาการท่องเที่ยว จำนวน 390 คน รวมถึงการสารวจระดับความพึงพอใจที่มีต่อฐานข้อมูลการท่องเที่ยวตามรอยพระยารัษฎานุฯ ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทั่วไปจานวน 100 คน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า แต่ละหมวดสามารถจัดอันดับความน่าสนใจในระดับมากที่สุดได้ดังนี้ หมวดการท่องเที่ยวตามรอยพระยารัษฎาฯ คือ อนุสาวรีย์พระยารัษฏาฯ มีค่าเฉลี่ย 3.93 หมวดวัฒนธรรม คือ ศาลเจ้ากิวอ๋องเอี่ย มีค่าเฉลี่ย 3.64 หมวดอาหาร คือ แหล่งอาหารที่ตลาดถนนคนเดิน (สถานีรถไฟ) มีค่าเฉลี่ย 4.16 หมวดสินค้าพื้นเมืองและของฝาก คือ ขนมเปี๊ยะซอย 9 มีค่าเฉลี่ย 4.24 หมวดสุขภาพ คือ นวดโดยคนตาบอด มีค่าเฉลี่ย 3.28 หมวดประเพณี/เทศกาล คือ งานวิวาห์ใต้สมุทร มีค่าเฉลี่ย 4.50 หมวดที่พักและโรงแรม คือ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา มีค่าเฉลี่ย 4.12 หมวดโบราณสถาน คือ สถานีรถไฟกันตัง มีค่าเฉลี่ย 4.20 หมวดการคมนาคมขนส่ง คือ สนามบิน มีค่าเฉลี่ย 4.44 หมวดสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คือ สวนพฤษศาสตร์ทุ่งค่าย มีค่าเฉลี่ย 4.48 โดยข้อมูลทั้งหมดได้จัดทาเป็นฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ในชื่อว่า www.ratsada.org และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในชื่อ 365 วันหลงมาตรัง เพื่อเผยแพร่ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ
อีกทั้งผู้วิจัยได้จัดทาแบบสารวจความพึงพอใจต่อฐานข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวจานวน 100 ชุด ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้ ระดับความพึงพอใจต่อฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ มีความพึงพอใจโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 90.60 แบ่งออกเป็นด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 92.00 ด้านประโยชน์และการนาไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 90.00 และด้านเนื้อหา คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 89.00 ส่วนระดับความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลบนสมาร์ทโฟน มีความพึงพอใจโดยรวม คิดเป็น ร้อยละ 71.80 แบ่งออกเป็นด้านประโยชน์และการนาไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 80.00 ด้านเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 73.00 และด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 67.40
สำหรับข้อเสนอแนะสิ่งที่พบเห็นจากงานวิจัยพบว่า (1) มีสถานที่ท่องเที่ยวหลาย ๆ แห่งควรได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมดูแล บูรณะอาคารและสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีการชารุดทรุดโทรมมาก (2) ควรปรับปรุงสภาพถนน ทางเข้าแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และเพิ่มป้ายบอกทาง (3) ควรปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค เช่น ห้องน้า ถังขยะ (4) ควรแสดงข้อมูลของสถานที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา (5) ควรมีการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งจะรู้จักเพียงเฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น