1,749 views

ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาแรงงานสัมพันธ์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์

ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ ฤทธิ์หมุน

หน่วยงาน  ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ปี พ.ศ. 2558

(งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปีงบประมาณ 2557)

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาวิชาแรงงานสัมพันธ์ 2. เพื่อศึกษาผลของเทคนิคการทดสอบย่อยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาแรงงานสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบ จำแนกตามเนื้อหาจำนวน 11 บทๆ ละ 10 ข้อ ข้อมูลที่ได้นามาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
          ผลการวิจัยพบว่า ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบ Pretest – Posttest แต่ละครั้งมาพิจารณา พบว่า พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระดับคะแนนเฉลี่ยของ Pretest มีระดับคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คิดเป็นร้อยละ 32.92 ซึ่งหมายความว่านักศึกษามีการเตรียมตัวอ่านหนังสือมาล่วงหน้าก่อนมีการเรียนการสอนในแต่ละเรื่อง เช่นเดียวกันกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของระดับคะแนนเฉลี่ยของ Posttest ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 7.09 ซึ่งหมายว่านักศึกษามีความตั้งใจในการเรียนและการทำแบบทดสอบมากขึ้น


หากต้องการเอกสารงานวิจัยฉบับเต็ม (Full Text) กรุณากรอกข้อมูล และกด SEND เพื่อส่ง